ลบ
แก้ไข
หลังจากการเปิดประเทศของเมียนมาร์และการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้การลงทุนใน
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของพม่านั้นมีความสําคัญต่อสายตาชาวโลกอย่างมาก รัฐบาลพม่าได้เปิดโอกาสให้
นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ด้วยการออกนโยบายโครงการขนาดใหญ่ นั่นคือโครงการทวายซึ่งเป็นการพัฒนาท่าเรือ น้ําลึกและนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถ แบ่งได้เป็น 6 เขตอุตสาหกรรมได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้า โครงสร้างพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม ถนน ทางรถไฟเชื่อมโยงไปสู่ประเทศไทยรวมไป
ถึงน้ํามันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยเมียนมาร์รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าได้มี
การบันทึกความเข้าใจเพื่อยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวาย ด้วยการตกลงให้รัฐบาลไทยได้เข้า
มามีบทบาทในการกํากับควบคุมดูแลระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการทวาย
รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่านั้นยังคง เดินหน้าในการพัฒนาพื้นที่ครอบคลุม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนี้ต่อไป ซึ่ง ปัจจุบันบริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์จํากัด ได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้พัฒนามาเป็นผู้ลงทุน โดยได้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จํากัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 สําหรับ โครงการระยะเริ่มต้นจะใช้เวลาพัฒนา 5 ปีในการเริ่มลงทุนตั้งแต่ ปี 2558 มูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร มีสัญญาสัมปทาน 50 ปีและสามารถขยายระยะเวลา ได้อีก 25 ปีโดยโครงการนิคมอุตสาหกรรมเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก อาทิอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ที่จําเป็น อาทิท่าเรือขนาดเล็ก โรงไฟฟ้า ถนนลาดยาง 4 ช่องจราจรที่เชื่อมกับไทย ระบบโทรคมนาคม
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

หลังจากการเปิดประเทศของเมียนมาร์และการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้การลงทุนใน
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของพม่านั้นมีความสําคัญต่อสายตาชาวโลกอย่างมาก รัฐบาลพม่าได้เปิดโอกาสให้
นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ด้วยการออกนโยบายโครงการขนาดใหญ่ นั่นคือโครงการทวายซึ่งเป็นการพัฒนาท่าเรือ น้ําลึกและนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถ แบ่งได้เป็น 6 เขตอุตสาหกรรมได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้า โครงสร้างพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม ถนน ทางรถไฟเชื่อมโยงไปสู่ประเทศไทยรวมไป
ถึงน้ํามันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยเมียนมาร์รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าได้มี
การบันทึกความเข้าใจเพื่อยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวาย ด้วยการตกลงให้รัฐบาลไทยได้เข้า
มามีบทบาทในการกํากับควบคุมดูแลระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการทวาย
เดิมในปี 2553 บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานในการเข้าพัฒนา
โครงการทวาย ในนามบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์จํากัด สําหรับการพัฒนาโครงการทวายนั้น
เกิดความล่าช้าอย่างมาก อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงการขอปรับลดพื้นที่โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึก
และนิคมอุตสาหกรรมทวายลง 50 ตารางกิโลเมตร จากเดิมที่มีพื้นที่ 204.5ตารางกิโลเมตร อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ได้แก่ การก่อสร้างท่าเรือ และการก่อสร้างถนนในโครงการ เป็นโครงการที่ใช้เวลานานในการคืนทุน
ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าวได้ยาก รัฐบาลพม่าจึงได้เสนอการจัดตั้งนิติบุคคล
เฉพาะกิจ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เข้ามาลงทุน อาทิญี่ปุ่น จีน เพื่อไม่ให้นักลงทุนภาคเอกชนมีเพียง
แค่รายเดียว จึงทําให้ไทยต้องยกเลิกสัญญาฉบับเดิมและปรับปรุงโครงการพัฒนาทวายนี้ใหม่
โครงการทวาย ในนามบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์จํากัด สําหรับการพัฒนาโครงการทวายนั้น
เกิดความล่าช้าอย่างมาก อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงการขอปรับลดพื้นที่โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึก
และนิคมอุตสาหกรรมทวายลง 50 ตารางกิโลเมตร จากเดิมที่มีพื้นที่ 204.5ตารางกิโลเมตร อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ได้แก่ การก่อสร้างท่าเรือ และการก่อสร้างถนนในโครงการ เป็นโครงการที่ใช้เวลานานในการคืนทุน
ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าวได้ยาก รัฐบาลพม่าจึงได้เสนอการจัดตั้งนิติบุคคล
เฉพาะกิจ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เข้ามาลงทุน อาทิญี่ปุ่น จีน เพื่อไม่ให้นักลงทุนภาคเอกชนมีเพียง
แค่รายเดียว จึงทําให้ไทยต้องยกเลิกสัญญาฉบับเดิมและปรับปรุงโครงการพัฒนาทวายนี้ใหม่
การเข้าไปลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่มากนี้ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนจํานวนมาก รัฐบาลไทยจึงพยายามผลักดันให้โดยให้รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนและเข้ามามีบทบาทร่วมกันพัฒนาในรูปแบบอีโคพาร์ตเนอร์ชิป ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้ปฏิเสธเป็นผู้ลงทุน แต่พร้อมที่จะให้การสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยการจัดเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้กับรัฐบาลพม่าในการสร้างถนนระหว่างเส้นทางบ้านพุน้ําร้อนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในระยะทาง 138 กิโลเมตรด้วยวงเงิน 3,900ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลพม่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการบันทึกลงนามร่วมกับญี่ปุ่น และต้องเป็นผู้ก่อสร้างแทนบริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์จํากัด ในการนี้ญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนในทวายเป็นประเทศที่สามหลังจากพัฒนาโครงการทวายเฟสแรกแล้วเสร็จ
รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่านั้นยังคง เดินหน้าในการพัฒนาพื้นที่ครอบคลุม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนี้ต่อไป ซึ่ง ปัจจุบันบริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์จํากัด ได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้พัฒนามาเป็นผู้ลงทุน โดยได้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จํากัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 สําหรับ โครงการระยะเริ่มต้นจะใช้เวลาพัฒนา 5 ปีในการเริ่มลงทุนตั้งแต่ ปี 2558 มูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร มีสัญญาสัมปทาน 50 ปีและสามารถขยายระยะเวลา ได้อีก 25 ปีโดยโครงการนิคมอุตสาหกรรมเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก อาทิอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ที่จําเป็น อาทิท่าเรือขนาดเล็ก โรงไฟฟ้า ถนนลาดยาง 4 ช่องจราจรที่เชื่อมกับไทย ระบบโทรคมนาคม
ล่าสุดพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ได้เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8ถึง 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการหารือทวิภาคีกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นในเรื่องความร่วมมือด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย สําหรับการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนี้ยังคงต้องติดตามดูต่อไป หากสามารถสร้างโครงการทวายได้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้จะส่งผลภาพรวมที่ดีอย่างมากในการเปิดการค้าได้อย่างครอบคลุมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย จะเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง เป็นการขยายตลาดใหม่สําหรับการลงทุนในต่างประเทศ ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่ง อีกทั้งในการเปิดประชาคมอาเซียนอันใกล้นี้จะช่วยในการกระจายสินค้าและอํานวยความสะดวกได้อย่างมาก แต่หากกล่าวถึงอุปสรรคในการลงทุนในทวายนั้นก็มีอุปสรรคอยู่มากเหมือนกัน เช่น การใช้เม็ดเงินลงทุนจํานวนมากกับหากโครงการดังกล่าวจะยังคงดําเนินการด้วยความล่าช้าต่อไป ก็จะส่งผลกระทบในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน รายอื่น
ทั้งนี้สําหรับนักลงทุนที่สนใจจะเข้าไปลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายควรศึกษารายละเอียดและติดตามความคืบหน้าต่างๆ ของโครงการให้แน่นอนก่อน ตัดสินใจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
-
จากคำแถลงนโยบายรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา หนึ่งในจุดมุ่งหมายของนโยบายรัฐบาล คือ "เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 อย่างสมบรูณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม...by dogTech
-
เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนถือเป็น ที่ความสลับซับซ้อนมากที่สุดในโลก จะส่งผมดีหรือผลเสียงอย่างไรบ้าง? เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจากเศรษฐกิจในอาเซียน...by Editor Bow
-
เรื่องมาใหม่
คำฮิต