ลบ
แก้ไข
ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียนหรือ ASEAN Cooperation on Transport Facilitation and Logistics นั้นเกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ของอาเซียนที่ต้องการเสริมสร้างระบบการขนส่ง ทั้งการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางบกและการขนส่งทางน้ำให้มีการรวมตัวกันทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมีความพยายามในการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจโลกภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการขนส่ง (ASEAN Transport Action Plan - ATAP
2005 - 2010)
ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียนได้มุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในการขนส่งหลายรูปแบบ การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าแบบไร้พรมแดน และการส่งเสริมการเปิดเสรีบริการด้านขนส่งทางน้ําและทางอากาศให้ดียิ่งขึ้น
สําหรับด้านการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ได้มีการให้สิทธิรับขนส่งการจราจรเสรีภาพที่ 3, 4 และ 5 อย่างไม่จํากัดระหว่างเมืองใดๆ ในอาเซียน ซึ่งสายการบินสามารถทําการบินไปยังเมืองที่มีท่าอากาศยานระหว่างประเทศ และสามารถใช้สิทธิรับขนส่งการจราจรระหว่างเมืองต่างๆ ของอาเซียน และระหว่างเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่ออํานวยความสะดวกด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน ทางอาเซียนได้จัดทํากรอบความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกด้านการขนส่งที่สําคัญ 3 ฉบับ ดังนี้
(1) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT)
(2) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งหลายรูปแบบ (ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport: AFAMT)
(3) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport : AFAFIST)
ทั้งนี้ กรอบความตกลงทั้ง 3 ฉบับ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดขั้นตอนในกระบวนการด้านการค้าและการขนส่งในอาเซียนให้ง่ายขึ้น มีการปรับประสานกัน จัดทําแนวทางและข้อกําหนดร่วมกันในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งผ่านแดน และขนส่งหลายรูปแบบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการขนส่งสินค้าแบบไร้พรมแดน โดยขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน (ASEAN Strategic Transport Plan) ปี 2554-2558 ซึ่งได้รับการ
รับรองเรียบร้อยแล้ว
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียน
ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียนหรือ ASEAN Cooperation on Transport Facilitation and Logistics นั้นเกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ของอาเซียนที่ต้องการเสริมสร้างระบบการขนส่ง ทั้งการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางบกและการขนส่งทางน้ำให้มีการรวมตัวกันทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมีความพยายามในการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจโลกภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการขนส่ง (ASEAN Transport Action Plan - ATAP
2005 - 2010)
ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียนได้มุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในการขนส่งหลายรูปแบบ การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าแบบไร้พรมแดน และการส่งเสริมการเปิดเสรีบริการด้านขนส่งทางน้ําและทางอากาศให้ดียิ่งขึ้น
สําหรับด้านการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ได้มีการให้สิทธิรับขนส่งการจราจรเสรีภาพที่ 3, 4 และ 5 อย่างไม่จํากัดระหว่างเมืองใดๆ ในอาเซียน ซึ่งสายการบินสามารถทําการบินไปยังเมืองที่มีท่าอากาศยานระหว่างประเทศ และสามารถใช้สิทธิรับขนส่งการจราจรระหว่างเมืองต่างๆ ของอาเซียน และระหว่างเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่ออํานวยความสะดวกด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน ทางอาเซียนได้จัดทํากรอบความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกด้านการขนส่งที่สําคัญ 3 ฉบับ ดังนี้
(1) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT)
(2) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งหลายรูปแบบ (ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport: AFAMT)
(3) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport : AFAFIST)
ทั้งนี้ กรอบความตกลงทั้ง 3 ฉบับ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดขั้นตอนในกระบวนการด้านการค้าและการขนส่งในอาเซียนให้ง่ายขึ้น มีการปรับประสานกัน จัดทําแนวทางและข้อกําหนดร่วมกันในการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งผ่านแดน และขนส่งหลายรูปแบบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการขนส่งสินค้าแบบไร้พรมแดน โดยขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน (ASEAN Strategic Transport Plan) ปี 2554-2558 ซึ่งได้รับการ
รับรองเรียบร้อยแล้ว
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ประเทศไทยยังคงเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของพม่า เพราะสินค้าจากพม่าเป็นสินค้าราคาถูกรองมาจากประเทศจีน โดยการค้าบริเวณชายแดนระหว่างประเทศพม่าและประไทยมีมูลค่า 5,570,000,000 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 22%...by dogTech
-
รายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (KOTRA) เผยว่า บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องหนัง และอัญมณี ได้โบกมือลาจีนนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2551...by Editor
-
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือJTC ไทย-เวียดนามครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 - 22 กรกฎาคม 2558 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่า...by dogTech
-
นางอภิรดีตันตราภรณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ได้นําผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2558 ณ...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต