ประโยชน์อาเซียน

www.k-tcc.co.th
ประโยชน์อาเซียน ลดความขัดแย้งและเพิ่มความเชื่อมั่นระหว่างสมาชิก
1 อาเซียนเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดไทยมากที่สุด ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศเป็นเพื่อนบ้าน มีพรมแดนติดกัน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง มีสินค้าและบริการที่สามารถเสริมซึ่งกันและกันได้ หรือมีสินค้าบริการที่คล้ายคลึงกันซึ่งหากสามารถร่วมมือกัน ก็จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งในด้านอำนาจการต่อรอง อันจะนำมาซึ่งการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจการค้าที่มีความสำคัญยิ่ง
2 การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้เกิดตลาดในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ โดยสามารถนำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาเสริมกับจุดแข็งของประเทศไทยเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดในการผลิต ส่งออกและบริการ ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีมากขึ้น นอกจากนี้ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้ประเทศสมาชิกมีความเป็นปึกแผ่นและช่วยสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีต่างๆ มากขึ้น
3 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนของไทย เนื่องจากการผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อให้เกิดการยกเลิกหรือลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรค์ด้านภาษีหรือมาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่มิใช่ภาษี เนื่องจากประเทศสมาชิกจะแสวงหาความร่วมมือเพื่อลด/ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านั้น รวมถึงอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
4 ประชาคมเศรษฐกิจจะทำให้ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มปรับตัวและเตรียมความพร้อม กับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสที่เกิดจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
5 เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการภายในประเทศ จากการใช้ทรัพยากรในการผลิตร่วมกันและการเป็นพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ จากการขจัดอุปสรรคในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก
6 ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ภายในประเทศจากการดำเนินงานตามแผนงานในด้านการลดอุปสรรคทั้งด้านการค้าและการลงทุน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
โอกาสและความท้าทายต่อผู้ประกอบการไทย
โอกาส
1 ไทยสามารถขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษีจะลดลงหรือหมดไป และกฎระเบียบต่างๆ จะมีการปรับประสานเพื่อให้สอดคล้องและเอื้อประโยชน์ในกลุ่มสมาชิกมากขึ้น
2 การรวมตัวเป็นตลาดเดียว จะช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้ามาในอาเซียนรวมทั้งไทยมากขึ้น
3 ผู้ประกอบการไทยในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวการบริการด้านสุขภาพและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องเร่งศึกษาหาลู่ทางการปรับตัว และใช้โอกาสจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความท้าทาย
4 สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่ไม่พร้อมในการแข่งขัน หรือที่ไทยไม่มีความได้เปรียบในด้านต้นทุน คงได้รับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวและเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ภาครัฐจึงได้พยายามเจรจาผลักดันในประเด็นที่จะช่วยรักษาผลประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการสร้างความพร้อมให้กับภาคเอกชนทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎเกณฑ์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือในการเตรียมพร้อมและปรับตัวสำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี
5 การเปิดตลาดภายในอาเซียนเป็นเรื่องที่มีการหารือ ประสานงาน และผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงเวลานี้ยังมีความยืดหยุ่นและผ่อนปรนให้กับสาขาที่อ่อนไหวสูงของประเทศสมาชิก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐของไทยก็จะเจรจาต่อรองด้วยความระมัดระวังสูงสุดเพื่อผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยเป็นสำคัญ และเพื่อลดโอกาสของการเกิดผลกระทบในทางลบให้ได้มากที่สุด
แนวทางการรองรับผลกระทบของไทย
1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของการจัดสัมมนารับฟังความเห็น การจัดทำหนังสือเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงาน การออกข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ รวมถึงการออกไปบรรยายให้ความรู้กับผู้ประกอบการ และคณาจารย์จากสถาบันต่างๆเพื่อให้สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่อไปได้
2 การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า(ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในสินค้าเกษตรแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรม และบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า โดยมีกรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
3 ปัจจุบัน รัฐบาลได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการเจรจาความตกลงการค้าเสรี ซึ่งก็ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อดูแลการเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยคณะทำงานดังกล่าวมีประธานผู้แทนการค้าไทยเป็นประธานและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงานรวมทั้งภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคณะทำงานฯ มีหน้าที่ศึกษาและประเมินผลกระทบ รวมทั้งพิจารณามาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในทางลบ ตลอดจนบูรณาการมาตรการเยียวยาของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกัน
4 ปัจจุบันมีมาตรการเยียวยาทางการค้าหลัก 2 มาตรการ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ และกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ผู้ได้รับผลกระทบอาจเข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมพ.ศ. 2551-2555 ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้อีกทางหนึ่ง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก เทศบาลนครอุบลราชธานี ,youtube มองโลกแบบวิกรม

-
-
รัฐบาลเวียดนามปรับเงินหนังสือพิมพ์ของทางการเป็นจำนวน 40 ล้านด่ง (1,900 ดอลลาร์) จากบทความที่ระบุว่า ผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ 4 คน อยู่ในกลุ่มเผด็จการที่อื้อฉาวที่สุด...by Editor Bow
-
-
เวลาในกัมพูชา เท่ากับเวลาในประเทศไทย 1. เวลาราชการ - วันจันทร์ถึงวันศุกร์ - เวลา 8.00 12.00 น. และ14.00 17.00 น. 2. เวลาทำการภาคธุรกิจ - วันจันทร์ถึงวันศุกร์ - เวลา 8.00 12.00 น.และ 14.00 17.00 น....by Editor Bow